ประยุทธ์ ขู่ รมต. นินทา ระวังตัวไว้ ถ้าได้ยินโดนเด้ง

ประยุทธ์ ขู่ รมต. นินทา ระวังตัวไว้ ถ้าได้ยินโดนเด้ง

ประยุทธ์ เดือดประกาศขู่รัฐมนตรีที่ นินทา ตนให้ระวังตัวไว้ ถ้าได้ยินหรือสร้างปัญหาโดนเด้ง ย้ำมีทีมงานส่องเฟซบุ๊กตลอด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งสำนักข่าว มติชน บรรยายว่า บรรยากาศการประชุมโดยรวมเป็นไปด้วยดี

โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้เล่นมุกและแซวกับรัฐมนตรีเป็นระยะๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ตนเองถูก กทม. และตำรวจปรับ 6,000 บาท 

จากการไม่สวมหน้ากาก แต่อย่างไรก็ดี บรรยากาศตึงเครียดตอนก่อนปิดประชุม หลังจากที่นายกฯ ได้ประกาศขู่รัฐมนตรีที่นินทาตน “มีรัฐมนตรีบางคนพูดจาไม่ดีและนินทาผมในที่ประชุมบางวง ให้ระวังตัวไว้ด้วย ผมเป็นคนตัดสินใจเลือกเข้ามาทำงาน จะชอบหรือไม่ชอบผม อย่านินทาให้ผมได้ยิน ถ้าผมได้ยินอีก ผมจำเป็นต้องปรับออก จะริบโควต้านั้นมาเป็นของผมเอง ผมมีทีมงานคอยดูเฟซบุ๊กทุกท่าน ผมไม่วางใจและไม่สบายใจ ใครก็ตามที่สร้างความขัดแย้ง เกลียดชัง ทุจริต ถ้ามีปัญหาผมจะพิจารณาเอาออก”

ทำให้รัฐมนตรีที่ร่วมประชุมเมื่อได้ฟังแล้วต่างนิ่งเงียบ เพราะเป็นท่าทีที่รุนแรง และไม่มีใครแสดงความเห็น โดย พล.อ.ประวิตร ระบุว่า ตัวเองไม่รู้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ตำหนิใคร พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้คุยเรื่องนี้ด้วย ส่วนประเด็น พล.อ.ประยุทธ์ดึงอำนาจของรัฐมนตรีในการใช้กฎหมาย 31 ฉบับ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขมาดูแลเอง เป็นเพียงชั่วคราว โดยมั่นใจว่า จะสามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร็วขึ้น

ก่อนหน้านี้ นายกฯได้กล่าวในที่ประชุมว่า “มีรัฐมนตรีบางคนพูดจาไม่ดีและนินทาผมในที่ประชุมบางวง ให้ระวังตัวไว้ด้วย ผมเป็นคนตัดสินใจเลือกเข้ามาทำงาน จะชอบหรือไม่ชอบผม อย่านินทาให้ผมได้ยิน ถ้าผมได้ยินอีก ผมจำเป็นต้องปรับออก จะริบโควต้านั้นมาเป็นของผมเอง ผมมีทีมงานคอยดูเฟซบุ๊กทุกท่าน ผมไม่วางใจและไม่สบายใจ ใครก็ตามที่สร้างความขัดแย้ง เกลียดชัง ทุจริต ถ้ามีปัญหาผมจะพิจารณาเอาออก”

นายก หารือที่ปรึกษา เร่งสรุปแนวทาง และจัดการการแพร่ระบาดของ โควิด-19

นายก รัฐมนตรี หารือคณะที่ปรึกษา สรุปแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อ และจัดการการแพร่ระบาด โควิด-19 ดำเนินการด้วยความเร่งด่วนอย่างมีประสิทธิภาพ นายก โควิด-19 – นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี

โดยที่ประชุม ได้มีความเห็นว่า การระบาดระลอกใหม่ของโลกในครั้งนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปและเอเชีย ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการบริหารจัดการที่ผ่านมาเป็นอย่างดี จนนำไปสู่การผ่อนคลายกฏเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันเกือบเป็นปรกติ โดยที่ผ่านมาอาจจะมีการระบาดเกิดขึ้นเป็นกลุ่มจังหวัด ก็ไม่มีการล็อกดาวน์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

นอกจากนี้ การระบาดระลอกเมษา 64 นี้ มาเร็ว และกระจายตัวเร็วจนสร้างความวิตกกังวลแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าไทยจะมีความพร้อมในการรับมือการระบาดครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีในวันนี้ และเห็นควรที่จะดำเนินการดังนี้

1.ด้านการจัดการ: ให้มีการยกระดับ ศบค. โดยให้เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเหมือนเดิม หลังจากที่ได้มีการผ่อนคลายและให้อำนาจกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ดูแลไปก่อนหน้านี้ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาและการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน จะสามารถดำเนินการได้เบ็ดเสร็จและรวดเร็วยิ่งขึ้น

2.ด้านการคัดกรอง: ได้มอบหมายให้ ศบค. ดำเนินการจัดให้มีศูนย์คัดกรองของรัฐในทุกจังหวัด โดยจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น กทม. จำเป็นต้องมีหลายจุดเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และหากพบผู้ติดเชื้อต้องมีการจัดส่งไปยังสถานที่รักษาที่เหมาะสม โดยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต้องดูแลให้มีความเพียงพอ

3.ด้านการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ: จัดให้โรงพยาบาลสนามที่พร้อมรับดูแลผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ เฝ้าระมัดระวังอาการ ส่วนผู้ที่มีอาการเริ่มต้น และที่มีอาการหนัก ต้องจัดให้มีสถานพยาบาล รองรับ ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน หรือสถานพักเอกชน โดย ศบค. จะกำกับและติดตามกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้จัดสถานพยาบาลให้มีเพียงพอกับผู้ที่ติดเชื้อ

4.ด้านการฉีควัคซีน: ศบค. จะเข้ามาดูแลการจัดสรรที่ควบคู่กันไปกับ บุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มเสี่ยง ภาคธุรกิจ และประชาชน โดยความสามารถในการฉีดวัคซีน จะร่วมมือกับทุกภาคส่วน จัดสถานที่ที่เหมาะสม ลดการแออัดของโรงพยาบาล ที่ต้องมุ่งเน้นในการดูแลผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้เป้าหมายต้องฉีดวัคซีนทั้งประเทศให้ได้อย่างน้อย 3 แสนโดสต่อวัน และภายใน 4 เดือน คนไทยประมาณร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมาย หรือคิดเป็นประชาชนจำนวน 30 ล้านคน ที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก และให้ครบ 50 ล้านคน อย่างน้อยเข็มแรกภายในอย่างช้าไม่เกินสิ้นปี 2564 นี้

แนะนำ : รีวิวหนังไทย | คู่มือพ่อแม่มือใหม่ | แม่และเด็ก | เรื่องผี | แคคตัส กระบองเพชร